รีวิว The Witcher - เดอะ วิทเชอร์ นักล่าจอมอสูร
เดิมที The Witcher เคยเป็นทั้งนิยายแฟนตาซีดังระดับปรากฎการณ์ของ อังเดร ซับคาวสกี (Andrzej Sapkowski)นักเขียนชาวโปแลนด์ แต่ก็เป็นฉบับเกมต่างหากที่ช่วยสร้างชื่อให้ The Witcher เป็นที่รับรู้ไปทั่วทุกมุมโลก ด้วยเนื้อหาที่ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน การออกแบบคาแรกเตอร์ เกรอลต์ และตัวละครอื่น ๆ ได้เท่มาก รวมไปถึงความสนุกและความยากของเกมที่ทำให้ผู้เล่นใช้เวลาในการเคลียร์เกมเป็นร้อยชั่วโมง ซึ่งแน่นอนว่า ต้นธารและไอเดียของคาแรกเตอร์ (รวมไปถึงการดำเนินเรื่อง) ก็รับอิทธิพลจากเกมมาไม่น้อยเลยทีเดียว รีวิว The Witcher
เรื่องย่อ
เรื่องราวของ Geralt แห่ง Rivia (เฮนรี คาวิล) นักล่าอสูรเผ่าวิทเชอร์ ได้ออกเดินทางเพื่อเติมเต็มชะตากรรมในการปกป้องเด็กสาวที่เขาจะพบในป่าตามคำทำนาย ซึ่งเด็กสาวคนนั้นก็คือ ซิรี (เฟรยา อลลัน) เจ้าหญิงแห่งซินตราที่ต้องลี้ภัยสงครามล่าอาณานิคมโดยกองทัพแห่งนิล์ฟการ์ด โดยเธอยังต้องค้นหาความลับของพลังลึกลับที่ครอบครัวเก็บงำเอาไว้
และอีกด้านของโชคชะตายังมี เยนนิเฟอร์ แห่ง เวงเกอร์เบิร์ก (อันยา ชาโลตรา) จอมเวทย์สาวอาคมแก่กล้าผู้ยอมแลกโอกาสในการมีลูกกับความงามที่เธอไม่ต้องทนทุกข์กับหลังคดงออันอัปลักษณ์ต่อไป งานนี้นอกจากเหล่าปีศาจที่ วิทเชอร์ อย่าง เกรอลด์ ต้องจัดการแล้ว การตามหา ซิรี ยังเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้โลกปลอดภัย
เดิมที The Witcher เคยเป็นทั้งนิยายแฟนตาซีดังระดับปรากฎการณ์ของ อังเดร ซับคาวสกี (Andrzej Sapkowski)นักเขียนชาวโปแลนด์ แต่ก็เป็นฉบับเกมต่างหากที่ช่วยสร้างชื่อให้ The Witcher เป็นที่รับรู้ไปทั่วทุกมุมโลก ด้วยเนื้อหาที่ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน การออกแบบคาแรกเตอร์ เกรอลต์ และตัวละครอื่น ๆ ได้เท่มาก รวมไปถึงความสนุกและความยากของเกมที่ทำให้ผู้เล่นใช้เวลาในการเคลียร์เกมเป็นร้อยชั่วโมง
ซึ่งแน่นอนว่า ต้นธารและไอเดียของคาแรกเตอร์ (รวมไปถึงการดำเนินเรื่อง) ก็รับอิทธิพลจากเกมมาไม่น้อยเลยทีเดียว ยิ่งได้ เฮนรี คาวิล แฟนเกมตัวยงของ The Witcher ที่ขอเสนอตัวทันทีเมื่อมีการประกาศสร้างแม้จะยังไม่มีบท ก็ยิ่งชัดเจนถึงแนวทางที่ ลอเรน ชมิตท์ ผู้สร้างวางแนวทางเอาไว้จนผลลัพธ์ของมันก็ออกมาเหมือนเราได้เล่นเกมตะลุยด่านยังไงยังงั้นเลยทีเดียว
เนื่องจากว่าซีรีส์นี้ถูกสร้างมาจากนิยายและเกมที่โด่งดังมากๆเกมหนึ่งของวงการ ทำให้เกิดการคาดหวังจากแฟนเกมและนิยายกันมากพอสมควร เนื่องจากซีรีส์สร้างโดย Netflix แน่นอนว่าเราบอบช้ำกับหนังและซีรีส์ที่สร้างจากเกมมามากพอสมควรในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ผมเองเป็นแฟน เดอะ วิทเชอร์ คนนึงที่ชอบเกมมาก แม้ยังไม่มีโอกาสอ่านนิยาย แต่เนื้อเรื่องที่ได้จากเกมก็ถือว่าสนุกและลุ้นไม่แพ้กัน หลังจากที่ดูตอนแรกจบไป ต้องขอชมทีมสร้างเลยว่าทำบรรยากาศได้ดี มีกลิ่นอายจากเกมและมันพาผมกลับไปวันที่จับจอยไล่ล่าอสูรทั่ว The Continent บน Xbox One วันแรกอีกครั้ง
แต่พอผมดูจบ มันเกิดความค้าง อยากดูต่อเลยตอนนั้น คือมันสนุกมากครับ มันเป็นการเล่าเรื่องของจุดเริ่มต้นของตัวละครหลักจากในเกม ไม่ว่าจะเป็น เยเนเฟอร์ ทริส เกรอลท์ ซิริ ความสำคัญของนักเวทย์ เรียกได้ว่าครบเลย แต่มันไม่ครอบคลุมนะ
การดำเนินเรื่อง
โดยในแต่ละตอนโครงสร้างการดำเนินเรื่องก็คล้ายเวลาเปิดเกมมาก เช่นจะมีคนมาบอกภารกิจตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งมาในรูปแบบของป้ายประกาศที่ติดตามสถานที่ หรือเป็นซีนที่ เกรอลด์ เข้าพบคนมอบหมายภารกิจเลย ซึ่งก็ถือเป็นการดึงจุดเด่นของเกมมาใช้ได้ดี
แถมบางตอนซีรีส์ยังใช้ประโยชน์จากรูปแบบการเล่าเรื่องนี้ในการย่นย่อเรื่องราวให้กระชับขึ้นผ่านปากตัวละครไปเลย แต่กระนั้นในอีกด้านหนึ่งการที่มันใช้การดำเนินเรื่องเหมือนเกมก็ทำให้คนดูไม่อาจยึดโยงกับเป้าหมายที่แท้จริงของตัวละครได้เหมือนกัน
โดยตอน 1-4 ซีรีส์แทบจะดำเนินเรื่องเหมือนมีหนัง 3 เรื่องที่ต้องเล่าควบคู่ไปทั้ง เกรอลด์, ซิรี และ เยนนิเฟอร์ แบบไม่มีเส้นเรื่องใดบรรจบกันเลย ดังนั้นคนดูก็เหมือนต้องร่วมทำเควสต์ไปกับเกรอลด์เรื่อย ๆ และพอซีรีส์เดินเข้าสู่ตอน 5 นั่นแหละที่โครงสร้างเรื่องเริ่มชัดเจนขึ้น(แต่ก็ไม่ลดทอนความซับซ้อนลงเลย)
ดังนั้นคนดูอาจต้องอดทนดูและเก็บรายละเอียดให้จบ 4 ตอนเสียก่อนครับจึงจะสามารถเข้าใจโลกใน The Witcher และสามารถติดตามเรื่องราวอีก 4 ตอนที่เหลือได้อย่างสนุกสนานพอควร แม้บทซีรีส์หนังใหม่เต็มเรื่องจะยังมีปัญหาในแง่ตรรกะอยู่บ้างเนื่องจากมันใส่รายละเอียดที่เยอะ ซับซ้อน แต่ดันให้เวลาในแต่ละซีนที่จะต้องเล่าเรื่องหรือดึงอารมณ์น้อยเกินไปหน่อย
แต่จะว่าซีรีส์เดินเรื่องแบบเกมไปเรื่อย ๆ เสียทีเดียวก็ไม่ถูก เพราะโดยเนื้อแท้แล้ว The Witcher กล้าหาญมากที่เล่นกับการเล่าเรื่องแบบไม่ลำดับเวลา โดยตอนแรกเราจะได้เห็นเหตุการณ์ที่เหมือนปลายทางจากมุมมองหนึ่ง
ก่อนตอนสุดท้ายซีรีส์จะมาเฉลยว่าเหตุการณ์ในตอนแรกส่งผลต่อตัวละครอย่างไร แล้วตอนที่ 2-7 จะนำเสนอเหตุการณ์แวดล้อมที่ทำให้ชะตากรรมของตัวละครทั้ง เกรอลด์, ซิรี และ เยนนิเฟอร์ ต้องบรรจบกันซึ่งก็ถือว่าเป็นการเล่าเรื่องที่สร้างสรรค์มาก เพียงแต่เราจะต้องคอยดูและจับรายละเอียดให้ดี
ด้วยเนื้อหาที่เยอะและซับซ้อนแถมยังเดินเรื่องค่อนข้างเร็วก็อาจทำให้ต้องตามเรื่องกันเหนื่อยหน่อย แต่ก็โชคดีที่คราวนี้ Netflix มีพากย์ไทยที่ใช้ทีมเดียวกับที่พากย์หนังโรงเลย ทำให้การดูพากย์ไทยก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีไม่น้อยเลยสำหรับการดู The Witcher
ด้านคุณภาพงาน
แต่สิ่งที่คงจะเลี่ยงไม่ติติงไม่ได้คงเป็นในแง่การกำกับการแสดงและงานวิช่วลนี่แหละ โดยภาพรวมแล้วจุดบอดของซีรีส์ชุดนี้นอกจากตรรกะของบทอย่างที่กล่าวไปแล้ว คงหนีไม่พ้นการแสดงที่ทุกตัวละครดูจะ “แข็งทื่อ” ไร้อารมณ์เหมือนกันไปเสียหมด
ยิ่งถ้าใครฟังเสียงตัวละครต้นฉบับจะพบว่าทุกตัวละครแทบจะใช้โทนเสียงเดียวกันและไม่มีคาแรกเตอร์ใดที่โดดเด่นหรือเป็นที่จดจำเท่าใดนัก ยังดีที่ในส่วนการแสดงได้ เฮนรี คาวิล ที่แม้จะยังไม่ได้โชว์ฝีมือด้านดราม่าเท่าไหร่
แต่เราก็ต้องยอมรับว่าการปรากฎตัวพร้อมหุ่นล่ำ ๆ ฉบับซูเปอร์แมนของเขามารับบท เกรอลด์ น่าจะพอทำให้สาว ๆ ติดตามเรื่องราวที่ซับซ้อนและดูบอย ๆ แบบนี้ได้บ้าง รวมถึง อันยา ชาโลตรา นักแสดงสาวชาวอังกฤษในบทเยนนิเฟอร์ที่นอกจากความสวยแล้ว ความใจกล้าของเธอยังน่าจะทำให้หนุ่มได้คอแห้งกันบ้างแหละ
แม้หลายครั้งจะไม่เข้าใจว่าทำไมเวลาต่อสู้กับมนตร์ดำแล้วเสื้อต้องหล่นมาโชว์หน้าอกอยู่เรื่อยก็ตาม ซึ่งพอพูดถึงหนังออนไลน์เรื่องแนวแฟนตาซีพีเรียตและฉากโป๊แล้วก็อดนึกถึงซีรีส์ Game of Thrones ไม่ได้
และแน่นอนแหละว่างานวิชวลของ The Witcher เองก็ไม่ได้หนีจากซีรีส์ชิงบัลลังก์เรื่องดังที่เรากล่าวไปแล้วเท่าใดนัก จนเราอดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ทั้งงานออกแบบงานสร้างและการต้องมีฉากขายความเซ็กซี่
ถ้าเทียบกับ Game of Thrones
ถ้าไม่โดนเทียบคงแปลก เนื่องจากดูเผินๆ ทั้งสองเรื่องนี้จะคล้ายคลึงกัน แต่ในความเป็นจริงมีจุดต่างกันค่อนข้างชัดเจน เริ่มด้วยตีมของเรื่อง สำหรับ Game of Thrones จะเน้นการต่อสู้แย่งชิงระหว่างมนุษย์ และมีการผสมแฟนตาซีเข้ามาพอหอมปากหอมคอ ในขณะที่ The Witcher จะออกไปด้านแฟนตาซีสายดาร์คมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ด้วยองค์ประกอบอย่างเวทมนต์ ตำนานเล่าขาน อสูร เอล์ฟ และอีกมากมาย ทำให้จักรวาลของ เดอะ วิทเชอร์นั้นแตกต่างกับ Game of Thrones ยิ่งนัก
ในแง่ของการสร้าง งบประมาณในการสร้างของ เดอะ วิทเชอร์ คาดการณ์กันไว้ราวๆ 60 ล้านเหรียญสหรัฐ ตกเฉลี่ยตอนละ 7.5 ล้านเหรียญ เทียบกับ Game of Thrones ที่ 15 ล้านเหรียญยังถือว่าน้อยกว่ามากทีเดียวครับ
หากข้อมูลตรงนี้แม่นยำ แปลได้ทางผู้สร้างทำออกมาได้ดีเลยกับงบแค่นี้ อาจจะเพราะ CGI ยังไม่เยอะมากด้วย แต่ในซีซั่นต่อๆไปเราน่าจะได้เห็นเอฟเฟ็คที่มากขึ้น รวมถึงทุนสร้างที่เพิ่มขึ้นด้วยตามลำดับ
ถ้าให้เทียบงานถ่ายทำโดยรวมแทบไม่ต่างกัน แค่ชุด Game of Thrones จะอลังการกว่าหน่อยแค่นั้นเอง
ส่วนตัวจากที่ผมดูทั้งสองเรื่อง ถ้าให้ผมเลือกดูอะไรก่อน ผมจะทิ้ง Game of Thrones มาดู เดอะ วิทเชอร์ Thเพราะว่า เสน่ห์ของ เดอะ วิทเชอร์มันคือคาแร็คเตอร์ ที่หาดูจากไหนไม่ได้ เกรอลท์ แห่งริเวีย ก็เหมือน Master Chief แห่ง Halo น่ะ นึกออกไหม คอนเซ็ปเดียวกันแค่ต่างเวลาต่างยุคเท่านั้นเอง
โดยรวม
เดอะ วิทเชอร์ จาก Netflix นี้เติมเต็มจักรวาลเกมที่ผมเล่นมาได้ดี ดูแล้วอิน เข้าใจอะไรมากขึ้น หลายคนคิดว่าซีรีส์ถูกสร้างมาเพื่อดึงดูดแฟนๆเกม แต่ผมรู้สึกว่า มันเหมาะมากที่จะสร้างฐานแฟนเกมใหม่จากซีรีส์มากกว่า เพราะถ้าคุณดูแล้วไปเล่นเกมต่อ มันจะเพิ่มความอินและสนุกกับเกมได้มากมายก่ายกองเลยล่ะครับ
สรุป
คือซีรีส์ที่ดูให้สนุกได้ก็ต้องอาศัยความอดทนครับเพราะเนื้อหาค่อนข้างซับซ้อนและการเดินเรื่องแบบไม่ลำดับเวลา ซึ่งเราแนะนำให้ดูแบบพากย์ไทย แล้วจะติดตามเรื่องได้ง่ายขึ้นแถมยังมีฉากร้องเพลงเป็นภาษาไทยด้วย ที่ถูกใจผมที่สุดคงหนีไม่พ้นเพลงที่ร้องว่า “จงโยนเหรียญ หั้ย..กาบ..วิชเชอร์…” นี่แหละที่ทำให้การดูซีรีส์เรื่องนี้มีความฮา…แบบคาดไม่ถึงอยู่.
Comments