รีวิว The Hunger Games Mockingjay Part 1 - เกมล่าเกม ม็อกกิ้งเจย์ พาร์ท 1
รอคอยเธอมานานแสนนาน กว่าที่จะได้พบกับบทสรุปของหนังจากหนังสือดังเรื่องนี้กันเสียที แต่การณ์ก็กลับกลายเป็นว่าบทสรุปถึงแบ่งออกเป็น 2 ภาคย่อย และปลายปีนี้ เราจะได้ชมเพียงภาคต้นของบทสรุปเท่านั้น ‘The Hunger Games’ ภาคแรกเมื่อมีนาคม 2012 ผ่าน ‘Catching Fire’ ในช่วงพฤศจิกายนในปีถัดมา และพฤศจิกายนปีนี้ 2014 ก็ได้เวลาของ ‘The Hunger Games: Mockingjay – Part 1’ ภาคต้นของบทสรุปนั่นเอง รีวิว The Hunger Games Mockingjay Part 1
เรื่องย่อ
เมื่อหนังในภาคนี้ไม่มีสนามประลองแห่งเกมล่าชีวิตอยู่อีกต่อไป ภายหลังจากการแข่งขันอันเข้มข้นใน Quarter Quell ครั้งล่าสุด ที่สาวน้อยผู้มากับไฟ แคทนิส เอเวอร์ดีน(เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์) ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวงขึ้น
และมันได้นำมาซึ่งจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของสงครามที่แท้จริง ที่เธอจะไม่ยอมสยบต่อแคปปิตอลอีกต่อไป โดยมีแคทนิสในฐานะสัญลักษณ์ของ “ม็อคกิ้งเจย์” จะเป็นผู้นำในการลุกขึ้นต่อต้านครั้งนี้ร่วมกับ เกล(เลียม เฮมส์เวิร์ธ) เพื่อนรักจากเขต 12, ฟินนิค เพื่อนร่วมเกมจาก Quarter Quell
และพลูตาร์ช เกมเมคเกอร์ที่ขอหักหลังแคปิตอล แต่ทุกอย่างไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เมื่อชายหนุ่มที่เคยต่อสู้เคียงข้างเธออย่างพีต้า เมลลาร์ค (จอช ฮัทเชอร์สัน) ต้องถูกแคปปิตอลจับเป็นตัวประกัน
รอคอยเธอมานานแสนนาน กว่าที่จะได้พบกับบทสรุปของหนังจากหนังสือดังเรื่องนี้กันเสียที แต่การณ์ก็กลับกลายเป็นว่าบทสรุปถึงแบ่งออกเป็น 2 ภาคย่อย และปลายปีนี้ เราจะได้ชมเพียงภาคต้นของบทสรุปเท่านั้น ‘The Hunger Games’ ภาคแรกเมื่อมีนาคม 2012 ผ่าน ‘Catching Fire’ ในช่วงพฤศจิกายนในปีถัดมา และพฤศจิกายนปีนี้ 2014 ก็ได้เวลาของ ‘The Hunger Games: Mockingjay – Part 1’ ภาคต้นของบทสรุปนั่นเอง
หลังจากที่ภาค 2 หนังก็ยังคงความเข้มข้นของเนื้อเรื่องไวได้อย่างดีเยี่ยม ไม่มีแตกแถว จริง ๆ แล้วนวนิยายมีทั้งหมดสามเล่มนะครับ แต่เล่มที่สาม หนังเอามาทำแยกเป็น 2 พาร์ท อันนี้เป็นความรู้สำหรับคนที่ไม่เคยอ่านหนังสือครับ
เนื้อเรื่อง
หลังผ่านการเล่นเกมในฮังเกอร์เกมส์มาสองครั้งสองครา แคทนิส เอฟเวอร์ดีน (Jennifer Lawrence) คงได้เวลาหยุดพักการเล่นเกมสักที มันเป็นเกมที่เธอไม่อยากเล่น ที่ทำไปก็เพียงจะไปแทนตัวน้องสาวเท่านั้น แต่ดูเหมือนมันมาไกลเกินกว่าจะหันหลังกลับแล้ว เธอกำลังจะกลายเป็น “ม็อคกิ้งเจย์” ตัวแทนแห่งความหวังของ 12 เขตที่ถูกกดขี่โดยแคปปิตอลมาเนิ่นนาน
การผ่านมาสองเกมส์ ทำให้ภายในใจของแคทนิสเองก็มีความเปลี่ยนแปลง เธอรู้สึกอะไรบางอย่างกับพีต้า (Josh Hutcherson) ในระหว่างเกมส์ในภาคที่แล้ว ทิ้งให้ เกล (Liam Hemsworth) คนของเธอในภาคแรกให้ได้แต่เฝ้าคอยและเอาใจช่วยเธอเสมอมา แต่เกลก็ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการปฏิวัติครั้งใหม่
หลังฮังเกอร์เกมส์ครั้งพิเศษในภาคหนังใหม่เต็มเรื่องที่แล้ว ประธานาธิบดีสโนว์ผู้รู้แจ้งแล้วว่าใครคือกบฎที่ลูบคมเขาถึงจมูก ก็จัดการกวาดล้างเขต 12 เสียสิ้น แต่กลุ่นคนที่เหลือรอดก็ยังคงกบดานอยู่ใต้ดินในเขต 13 และพยายามที่จะปลุกเร้าให้เขตต่างๆ ลุกขึ้นสู้ด้วยการประกาศให้ทุกคนรู้ว่า “ม็อคกิ้งเจย์” ของพวกเขายังคงอยู่ และเธอจะกลายเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญในการปลุกเร้า
ที่ผ่านมา แม้เธอจะอยู่ในเกม แต่เธอก็ใช้จิตใจตัวเองตัดสินมาตลอด ครั้งนี้ เธอก็ยังไม่อาจหลุดพ้นไปจากเกมได้ แต่การตัดสินใจของเธอจะต้องผลัดกันรุกผลัดกันรับระหว่างหัวใจและสมอง เธอตกอยู่ในสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายก็ไม่ออก
และต้องประสานทุกๆ ทางเท่าที่จะเป็นไปได้ ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่กำลังระอุไปด้วยความรุนแรง การชิงความได้เปรียบและชิงไหวชิงพริบ การถูกกดขี่และการปลดแอก ทุกๆ อย่างเหมือนจำลองโลกจริงๆ ของมนุษยชาติลงไปอยู่ในหนังแห่งจินตนาการ ซึ่งต้องยอมรับว่า มันให้ความรู้สึกกดดันกับผู้ชมอย่างเราๆ อยู่ไม่น้อย
การดำเนินเรื่อง
ในภาคนี้ อาจรู้สึกได้ว่า Jennifer Lawrence สวยขึ้นมากกว่าทุกภาค อาจเพราะไม่ได้คลุกฝุ่นเลยสักวินาที ขณะที่รัศมีดาราก็จับ Sam Claflin มากขึ้นด้วย ทำให้รู้สึกว่า ภาคนี้เขาเด่นมากและมีเสน่ห์ขึ้นอย่างมากด้วย
สิ่งที่น่าสนใจก็คือภาคนี้เคทนิสเองถูกผลักดันขึ้นมาเป็นตัวแทนผู้นำในการต่อต้านกับแคปปิตอล ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วตัวเธอเองก็เพิ่งจะบอบช้ำมาจากการที่ต้องรู้ความจริงว่าพีต้าถูกสโนว์จับตัวไปเป็นตัวประกัน ความสับสนและความซับซ้อนทางอารมณ์ของแคทนิสถูกเปิดเผยออกมาให้ผู้ชมเห็นว่าเธอก็เป็นปุถุชนคนหนึ่งที่ยังคงหวาดกลัวการถูกคุกคามอยู่ดี
อันที่จริงแล้วแผนการปฏิวัติจะเกิดขึ้นและเป็นผลสำเร็จไม่ได้เลยถ้าหากตัวแคทนิสเองไม่ยอมต่อต้าน “กฎ” ในเกมล่าชีวิตภาคแรก นั่นยังไม่รวมไปถึงการที่เธอเลือกจะยิงธนูใส่สนามพลังในภาคถัดมา และแน่นอนเมื่อไฟแห่งการปฏิวัติถูกจุดให้ติดขึ้นแล้ว
กลุ่มผู้ต่อต้านจึงคิดว่าแคทนิสนี่แหละคือ “สัญลักษณ์” ในการปลุกระดมมวลชนให้เห็นคล้อยตามไปกับพวกเขา กับการเลิกจำนนต่อการปกครองแบบเอารัดเอาเปรียบของแคปปิตอล
จุดเด่น
อย่างไรก็ตามความสนุกอีกอย่างนอกจากฉากแอ็คชั่นในหนังภาคนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าเขต 13 (กลุ่มผู้ต่อต้านและแคปปิตอล(ประธานาธิบดีสโนว์) ใช้กระบวนการที่เรียกว่า Propaganda หรือโฆษณาเว็บหนัง HD ชวนเชื่อในการสร้าง “เหตุผล” เพื่อโน้มน้าวมวลชนของตัวเองให้คล้อยตามไปกับสิ่งที่พวกเขาพยายามจะสื่อสารออกไป
โดยที่เขต 13 ก็พยายามจะใช้แคทนิสเป็นม็อกกิ้งเจย์สัญลักษณ์แห่งอิสรภาพในการปลดเปลื้องพันธนาการจากแคปปิตอล ในขณะที่ทางแคปปิตอลเองก็ใช้เชลยอย่างพีต้าในการพูดให้ทางแคทนิสใจอ่อนและเกิดความไม่มั่นใจเพราะเป็นห่วงในสวัสดิภาพของคนรัก(หรือเพื่อนรัก) อย่างพีต้า
สำหรับตัวละครอย่างประธานาธิบดี อัลม่า คอยน์(จูลี่แอนน์ มัวร์) ก็จัดได้ว่าเธอเป็นตัวละครที่ต้องแบกรับความรับผิดชอบครั้งยิ่งใหญ่ในการปกป้องผู้คนที่เธอต้องดูแล อย่างที่ทราบกันดีว่าเขต 13 นั้นในความเข้าใจของแคปปิตอลนั้นมันเป็นเขตที่หายสาบสูญไปจากแผนที่เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการถ่ายทอดบท “ผู้นำ” ของจูลี่ก็เรียกได้ว่าทรงพลังไม่แพ้กับแคทนิสเลยเช่นกัน
นอกเหนือไปจากนี้ 1 ในฉากที่ดีที่สุดและชวนลุ้นระทึกที่สุดในเรื่องก็คงหนีไม่พ้นฉากเข้าไปชิงตัวประกันที่เรียกได้ว่า ผู้กำกับอย่างฟรานซิส ลอว์เรนซ์สามารถคุมจังหวะในการเร้าอารมณ์ผู้ชมให้ลุ้นตามไปกับทีมหน่วยกล้าตาย(เกล) ในการบุกเข้าไปในตึกของแคปปิตอล ตัดสลับกับการเจรจาถ่วงเวลาระหว่างแคทนิสกับประธานาธิบดีสโนว์
โดยรวม
ครึ่งชั่วโมงแรกของหนัง อืดอาด ยืดยาด น่าเบื่อมาก ตั้งใจดูก็แล้ว หากินป็อปคอร์นก็แล้ว ก็ยังอยากหลับเลย แต่หลังจากนั้นมา หนังก็ทำคะแนนตีตื้นขึ้นมาได้
โดยรวมแล้ว ถือว่า The Hunger Games: Mockingjay – Part 1 ทำได้ดีในแง่มุมความเป็นหนังดราม่า ทว่า ด้วยเหตุผลทางการตลาด ทำให้ภาคสรุปต้องถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน แต่ต้องเกลี่ยความเป็นดราม่าที่จะทำให้เห็นแง่มุมด้านลึกของตัวละคร ที่จะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกอยากรู้ตอนจบให้เกิดขึ้นภายในใจคนดู
ก็ต้องถือว่า ภาคนี้ตอบโจทย์ได้ดีพอสมควร ด้วยทั้งพลังการแสดงของแต่ละคน ทั้งบทที่ส่งเสริมความเป็นดราม่าการเมืองที่น่าจดจำ แต่ถ้าพูดถึง จำเป็นแค่ไหนกับการที่ต้องแบ่งเป็นสองภาค
สรุป
น่าเสียดายที่หนังมีความอืดอาดในช่วงแรกมากเกินไป แถมหนังดึงปมดราม่ามากมากเกินกว่าจะเป็นหนัง Thiller Adventure มันหนักไปทางดราม่าซะมากกว่า ค่อนข้างผิดหวังในภาคนี้นิด ๆ แต่ว่าองค์ประกอบสำคัญพวก อินเนอร์ หรือการแสดงอารมณ์ของตัวแทน ทำออกมาได้ดีครับ
Comments