รีวิว Greenland - นาทีระทึก วันสิ้นโลก
หนังแนวภัยพิบัติเป็นหนึ่งในแนวหนังที่ผู้ชมชาวไทยให้การต้อนรับอย่างดีเสมอมา กับเนื้อเรื่องที่เล่าง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เน้นขายฉากความวินาศสันตะโร กับสถานการณ์ที่ทำให้เราได้ลุ้นได้ตื่นเต้นไปตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งจะว่าไปเราก็ไม่ได้ดูหนังแนวนี้มาสักระยะ นั่นทำให้ Greenland นาทีระทึก..วันสิ้นโลก มีแต้มต่อในใจที่กระตุ้นให้เราอยากดูหนังเรื่องนี้เป็นพิเศษ รีวิว Greenland
เรื่องย่อ
เรื่องราวของครอบครัวหนึ่งที่ต้องเอาชีวิตรอดจากเหตุการณ์ดาวหางพุ่งชนโลก โดย John Garrity (Gerard Butler), Allison (Morena Baccarin) และ Nathan ลูกชายของพวกเขาต้องเดินทางฝ่าอันตรายเพื่อไปยังสถานที่ปลอดภัย ท่ามกลางข่าวร้ายว่าเมืองต่างๆ ทั่วโลกถูกทำลายด้วยชิ้นส่วนของดาวหางนี้
หนังแนวภัยพิบัติเป็นหนึ่งในแนวหนังที่ผู้ชมชาวไทยให้การต้อนรับอย่างดีเสมอมา กับเนื้อเรื่องที่เล่าง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เน้นขายฉากความวินาศสันตะโร กับสถานการณ์ที่ทำให้เราได้ลุ้นได้ตื่นเต้นไปตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งจะว่าไปเราก็ไม่ได้ดูหนังแนวนี้มาสักระยะ นั่นทำให้ Greenland นาทีระทึก..วันสิ้นโลก มีแต้มต่อในใจที่กระตุ้นให้เราอยากดูหนังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
ส่วนตัวเป็นคนที่ชอบดูหนังภัยพิบัติอยู่แล้ว ชอบมาตั้งแต่เด็ก เรื่องแรกๆ ที่ดูน่าจะเป็น Twister (1996), Volcano (1997) และ The Day After Tomorrow (2004) โดยเฉพาะเรื่องหลังนี่ดูบ่อยมาก ดูจนแผ่นพัง (ที่ดูบ่อยตีคู่กันคือ Independence Day
ซึ่งจริงๆ ก็อยากเรียกว่าหนังหายนะ แต่มันดูเป็นหนังเอเลี่ยนบุกโลกมากกว่า) แต่แม้ว่าจะเป็นประเภทหนังที่ชอบ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลังๆ หนังภัยพิบัติไม่ได้มอบอะไรที่ใหม่กับเรานัก
คือมันอาจจะใหม่ขึ้นในแง่ของเทคนิคพิเศษด้านภาพ (Into the Storm ที่เป็น Twister ฉบับ Found Footage) การนำเสนอภัยพิบัติที่ซับซ้อนขึ้น ฉีกแนวขึ้น (Geostorm ที่เป็น 2012 เวอร์ชั่นเครื่องจักรเปลี่ยนธรรมชาติ) แต่สุดท้ายปลายทางก็เหมือนกัน
เพราะเรื่องเล่าจริงๆ ไม่ได้ถูกพัฒนาตามไปด้วย ถ้าให้นับช่วง 2010's เรารู้สึกว่าหนังภัยพิบัติที่เวิร์คคือหนัง ภัยพิบัติ-ดราม่า ที่พูดถึงมนุษย์ในวิกฤตอย่าง The Impossible (2012) หรือ The Wave (2015) ที่ว่าด้วยการพลัดพราก และเริ่มต้นใหม่
ซึ่งจริงๆ Greenland (2020) ก็เป็นหนึ่งในหนังทำนองนี้ เพราะมันพูดถึงวิกฤตจากดาวหางยักษ์ การพยายามเอาชีวิตรอด และเหตุการณ์ที่แยกครอบครัวออกจากกันคนละทิศคนละทาง
เนื้อเรื่อง
กล่าวถึงเหตุการณ์อุกกาบาตชื่อคลาร์กที่มุ่งตรงมาถล่มโลก แต่รัฐบาลกลับสามารถช่วยเหลือคนได้เพียงหยิบมือจึงเลือกคนในสาขาอาชีพที่จำเป็นต่อมนุษย์ได้เดินทางสู่ที่หลบภัยโดยหนึ่งในนั้นได้แก่ครอบครัวแกริตี้
ประกอบด้วย จอห์น (เจอร์ราด บัตเลอร์) พ่อบ้านวิศวกรโครงสร้างที่กำลังมีปัญหาระหองระแหงกับ เอลลี (โมเรนา บัคคาริน) ภรรยาสาวสวย ซึ่ง เนธาน (โรเจอร์ เดล ฟลอยด์) ลูกชายของพวกเขาที่เกิดมาเป็นโรคเบาหวานแต่กำเนิด
แต่ในระหว่างทางสู่ กรีนแลนด์ พื้นที่หลบภัยของรัฐบาลพวกเขาก็จำต้องเผชิญกับอุปสรรคนานับประการทั้งผู้คนที่ไม่พอใจที่ตัวเองไม่ได้รับเลือก หรือเหล่านักเลงเริ่มออกปล้นสิ่งของจากร้านค้าจนบ้านเมืองเข้าสู่กลียุคอย่างสมบูรณ์แบบ และในขณะที่พวกเขากำลังพยายามเอาตัวรอดก็เริ่มเห็นถึงสัญชาตญาณดิบของมนุษย์ที่ทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด
การดำเนินเรื่อง
ตัวหนังไม่ได้มีพล็อตที่ซับซ้อน และตัวหนังก็ไม่ได้มีท่าทีที่จะทำให้ทุกอย่างยากเกินจำเป็น มันคือเรื่องราวของครอบครัวที่ต้องเอาชีวิตรอดจากวิกฤตดาวหาง ที่สะเก็ตของมันหลุดเข้าชั้นบรรยากาศโลกจนเกิดเป็นหายนะในทุกพื้นที่
ครอบครัวตัวเอกต้องเดินทางไปยังสนามบินเพื่ออพยพแต่แล้วทุกอย่างก็เริ่มหายนะ ทุกสิ่งที่ต้องการล้มเหลว จากความหวังที่จะหนีรอดไปด้วยกัน กลับกลายเป็นว่าพวกเขากระจัดกระจายไปกันคนละทาง หนังจึงไม่ใช่แค่เรื่องของการเอาชีวิตรอดจากภัยพิบัติ แต่ยังเป็นเรื่องของการพาทุกชีวิตกลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้งด้วย
ก่อนอื่นหนังใหม่เต็มเรื่อง คงต้องบอกไว้ก่อนว่า GREENLAND อาจไม่ได้มีรูปรอยการเล่าเรื่องที่ต่างจากหน้งโลกวิบัติเรื่องอื่นนัก มันยังมีฉากอุกกาบาตถล่มเมือง ฉากร้านค้าถูกปล้นและเผา รวมไปถึงคาแรกเตอร์ของมนุษย์ที่มีความเห็นแก่ตัว
ไปจนถึงฉากบังคับอย่างสถานการณ์บีบคั้นจนพระเอกต้องวิ่งออกมาเอายาเบาหวานให้ลูกทั้งที่เครื่องบินกำลังจะออกเดินทาง แต่ต้องชื่นชม ริก โรมัน วาฟ ที่ยังอุตส่าห์หามุมใหม่ในการเล่าเรื่องให้สนุกและลุ้นไปกับพระเอกได้อย่างไม่น่าเชื่อ
โดยเฉพาะการเปรียบเปรยระบบการคัดเลือกผู้รอดชีวิตของรัฐบาลที่แทบไม่ต่างจากพระเจ้า โดยหนังก็สามารถสร้างซีนสะเทือนอารมณ์ได้ตั้งแต่ซีนแรก ๆ อย่างการปฏิเสธรับเด็กสาวข้างบ้านแม้จะเป็นเพื่อนของลูกชายเพียงเพราะกฎห้ามนำคนอื่นเข้าไปในสนามบิน ซึ่งลำพังซีนนี้ซีนเดียวเราก็สัมผัสได้แล้วว่าตัวหนังจะต้องมีอะไรมาช็อกความรู้สึกคนดูแน่ ๆ
และมันก็มาตามนัดจริง ๆ หนังมีฉากที่โชว์สัญชาตญานดิบของมนุษย์ที่ดูโหดร้ายหลายฉากทั้งกราดยิงในร้านยา ฉากคนแปลกหน้าที่พร้อมห้ำหั่นกันให้ได้สิทธิเดินทางไปยังที่ปลอดภัยโดยไม่สนหลักการมนุษยธรรมใด ๆ
เลยทำให้มันโดดเด่นออกมาจากหนังภัยพิบัติโลกแตกเรื่องอื่นที่พยายามเน้นฉากโชว์สเปเชียลเอฟเฟกต์อลังการแต่ตรงข้าม GREENLAND สามารถเล่าเรื่องในเชิงหนังเอาชีวิตรอดได้อย่างระทึกใจและกระแทกความรู้สึกคนดูได้อย่างไม่น่าเชื่อ
และทีละน้อยมันก็ค่อย ๆ ปรับสู่สารด้านศาสนาอย่างไม่ต้องสงสัย ที่เห็นได้ชัดคือหนังพยายามเน้นป้าย โบสถ์บัพติศมา (Babtism) ซึ่งในทางสัญลักษณ์แล้วก็เดาได้ไม่ยากว่ามันจะนำไปสู่การพูดเรื่องการล้างบาปแน่นอน
โดยเฉพาะกรณีของจอห์นที่แบกความผิดบาปต่อครอบครัวเป็นส่วนผลักดันให้เขาพาเมียและลูกตัวเองออกเดินทางไปในที่ปลอดภัยให้จงได้
ซึ่งก็มีส่วนคล้ายเรื่องราวในพระคัมภีร์อย่างเรือของโนอาห์ (Noah’s Ark) ไม่น้อยเลยทีเดียว เพียงแต่เปลี่ยนจากเหล่าสรรพสัตว์และครอบครัวมาเป็นมนุษย์และที่สำคัญสารด้านศาสนายังไปไกลถึงขั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคาแรกเตอร์ของจอห์น
ที่ตอนแรกเขาต้องเผชิญอุปสรรคนานาจากความเห็นแก่ตัวจนในตอนท้ายเรื่องเหมือนเขาพยายามพิสูจน์ตนเองให้พระเจ้าเห็นไม่น้อยกับความพยายามช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์หลังเป็นพยานเหตุการณ์สะเทือนใจตอนกลางเรื่อง
จุดเด่น
แม้เว็บหนัง HDจะมีฉากบังคับให้ต้องขายสเปเชียลเอฟเฟกต์ตระการตาแต่ GREENLAND ก็เลือก “โชว์” อย่างพอดี โดยนอกจากฉากอุกกาบาตพุ่งชนโลกจนเกิดความวินาศสันตะโรแล้ว มันยังทำหน้าที่รองรับเรื่องราวที่เล่าผ่านท้องฟ้าลุกเป็นไฟสร้างบรรยากาศวันสิ้นโลกให้เราได้ตามตัวละครไปลุ้นกับการเอาชีวิตรอดของเขาแทนซึ่งถือเป็นความโชคดีที่หนังก็ได้นักแสดงที่ดีเสียด้วย
แม้เจอร์ราด บัตเลอร์จะสร้างชื่อในฐานะดาราหนังบู๊แต่สำหรับ GREENLAND ผู้กำกับอย่าง ริก โรมัน วาฟ ที่พ่วงกันมาจาก Angle Has Fallen (2019) กลับให้โอกาสเขาในการเติมความเป็นมนุษย์ทั้งความเป็นพ่อและสามีลงไปในตัวละคร
ส่วน โมเรนา บัคคาริน นักแสดงสาวชาวบราซิลที่หลายคนคงคุ้นหน้ากับบท วาเนสซา แฟนของ Deadpool นอกจากความสวยที่มองเพลินเป็นทุนเดิมฝีมือการแสดงของเธอก็ไม่ได้ดีน้อยไปกว่ารูปร่างหน้าตา
เราสัมผัสได้ถึงความเป็นแม่ที่อยู่ในทุกซีนจนเราอดลุ้นตามไม่ได้ ในบทของแม่และภรรยาของ เจอร์ราด บัตเลอร์ ก็มีหลายฉากที่ทำให้ลุ้นและเอาใจช่วยเธอ
ซึ่งพลังทางการแสดงของทั้ง 2 ช่วยยกระดับเรื่องราวให้น่าติดตามมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนตัวชอบดราม่าครอบครัวที่นำเสนอมากเป็นพิเศษ ซึ้ง สะเทือนใจ จนบางคนอาจมีน้ำตาซึม
มุมมองความเป็นมนุษย์
การที่หนังโฟกัสอยู่กับตัวของประชาชนเพียงมุมมองเดียว ประชาชนที่สามารถรับข้อมูลได้เพียงทางทีวี วิทยุ หรือโทรศัพท์ ทำให้เราได้เห็นการดิ้นรนของตัวละคร ขวนขวายหาทางที่จะเอาชีวิตรอดต่อไปเรื่อยๆ สิ่งที่เราชอบอย่างหนึ่งก็คือ
หนังจัดลำดับข้อมูลน่าสนใจ หนังเผยให้เห็นว่ารัฐ หรือสื่อจากทีวีไม่ได้อธิบายทุกสิ่งทั้งหมด แต่เป็นการปกปิดข้อมูล และเปิดเผยส่วนที่ต้องการ ในขณะเดียวกัน จุดเปลี่ยนผันสำคัญของข้อมูลกลับมาจากปากต่อปาก มาจากคนแปลกหน้าที่เป็นมิตร
และให้ข้อมูลสำคัญกับตัวละคร เราจึงรู้สึกว่า Greenland เป็นหนังหายนะที่คนทำเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ด้วยกันมากๆ เหมือนมันเป็นทางเดียวที่พวกเขาจะเอาชีวิตรอดต่อไปกันได้
พอหนังให้ความสำคัญ และน้ำหนักกับภาวะความเป็นมนุษย์มากๆ เราเลยได้เห็นหลายๆฉาก หลายๆพัฒนาการของตัวละครที่น่าสนใจ แม้จะยืนอยู่บนโครงสร้างหนังที่เราคุ้นชินก็ตาม
การที่หนังไม่ได้ตัดสิน หรือเหมารวมคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เผยให้เห็นความหลากหลายของมนุษย์ และการตัดสินใจที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทำให้ตัวละครในหนังล้วนน่าสนใจไปหมด
ซึ่งเราชอบที่เขาไม่ได้สนขนบความคิดเดิม มีท่าทีที่จะพยายามหลุดพ้นออกจากกรอบเดิมๆ อยู่ตลอด เหมือนคนทำรู้สูตร และก็เลือกใช้มันอย่างถูกวิธี เราจะเห็นได้ว่าบทภาพยนตร์ที่ความพยายามจะลดทอน หรือตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป
ซึ่งส่วนหนึ่งก็เพราะเขาเชื่อในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน ช่วยเหลือกัน อย่างตัวละครเพื่อนบ้านในช่วงเปิดเรื่อง เราชอบมากๆที่เขาไม่ได้ใส่คอนฟลิกต์เข้ามา ไม่ได้สร้างสถานการณ์บ้าๆบอๆให้ตัวละครออกมาสติแตก ซึ่งมันเป็นแบบนั้นทั้งเรื่อง
เราชอบที่เขาทรีดตัวละครแบบนี้ เพราะมันมีผลลัพธ์กับบรรยากาศของหนัง หรือเมสเสจสำคัญที่คนทำต้องการสื่อสาร คือตอนดู 2012 เราได้เห็นความใหญ่โตมโหฬาร ได้เห็นเรื่องราวที่พาคนดูไปสู่วันสิ้นโลก แต่มันไม่ได้จริงจัง คนทำหนังไม่ได้ทรีดให้ภัยดังกล่าวอันตราย ซึ่งส่วนหนึ่งมันก็เพราะการเขียนตัวละครด้วย
โดยรวม
เอาจริงๆ ต้องบอกตามตรงว่าภาพรวมของหนังมันสูตรมากๆ หลายๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนจอ หลายๆฉากระทึกที่เราได้เห็น เราอาจเคยพบเคยเจอจากหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาก่อนหน้าแล้ว แต่นั่นไม่ได้สำคัญเท่าไหร่
ถ้าใครดู Greenland แล้วก็จะเห็นว่าทุกตัวละครมันดูมนุษย์มากๆ การที่หนังวางท่าทีให้ทุกอย่างเป็นตามธรรมชาติ ไม่ทำให้มันดำ หรือขาวชัดเจนเกิน สร้างความรู้สึกระหว่างดูได้ดีเลย
เพราะสิ่งที่ทำให้เราเอนจอยกับ Greendland สุดๆคือการที่คนทำเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองจะเล่า เข้าใจในข้อจำกัด รวมถึงเข้าใจในสูตร ในโครงสร้างหนังภัยพิบัติที่เคยมีมา แต่แทนที่เขาจะสนใจในเรื่องของการนำเสนอให้ฉีกขึ้น แหวกขึ้น
หรือเวอร์ขึ้น เขาเลือกที่จะมอบความเป็นมนุษย์ให้กับหนังอย่างสุดหัวใจ ทำให้มันกลายเป็นหนังภัยพิบัติที่เราคุ้นชิน แต่มอบความรู้สึกที่แตกต่างจากเรื่องอื่นๆอย่างสิ้นเชิง
สรุป
เป็นหนังภัยพิบัติที่เราเอ็นจอยมากๆ เรื่องหนึ่ง เหมือนนี่แหละเป็น “My type of dis-aster film” คือการพาผู้ชมไปสำรวจเบื้องลึกจิตใจของคนที่ต้องเอาชีวิตรอดจากหายนะ โดยมีโครงสร้างของรัฐบาลขับเคลื่อนอยู่ และพวกเขาไม่สามารถไปแทรกแซงหรือเปลี่ยนแปลงได้
การให้ตัวละครเป็นคนธรรมดา ไม่ได้มีอำนาจ หรือจับพลัดจับผลูเข้าไปเป็นส่วนร่วมในรัฐบาลทำให้หนังออกมาเข้มข้นจริงจัง บวกกับการไม่วอกแวกในบรรยากาศของตัวเอง
แม้กระทั่งช่วงเวลาที่ผ่อนคลายมันก็ไม่ได้ถูกดีไซน์มาเพือให้ตัวละครเล่นมุกตลกแต่อย่างใด ใครที่กำลังต้องการหนังภัยพิบัติเช้มช้นจริงจังน่าจะชอบมากๆ แต่ก็ต้องเข้าใจก่อนว่ามันพูดถึงหายนะในหลายๆมุมที่เป็นลูกโซ่ต่อกันไป
คือมันไม่ได้โฟกัสแค่กับอุกกาบาต ดาวหางซะทั้งหมด แต่พาคนดูไปเห็นมนุษย์ในหลายๆด้านด้วยเช่นกัน งานเทคนิคพิเศษด้านภาพอาจจะไม่หวือหวามาก แต่ชอบการดีไซน์ดาวหางในหนังสุดๆ เพราะเห็นแล้วนึกถึง Comet (2014) หนังรักที่ชอบมากๆคือของ แซม เอสเมล
Comments